ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบตัน อย่างไรก็ตามภาวะไขมันในเลือดสูงนั้นเป็นภาวะที่สามารถป้องกันและควบคุมได้ ไขมันในเลือด ประกอบด้วย คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ คอเลสเตอรอลเป็นไขมันที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบตัน แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 1. HDL ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้หลอดเลือดแข็งและหลอดเลือดตีบตัน 2.LDL ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแข็งและลหอดเลือดตีบตัน ผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูงและ/หรือมีระดับ HDL ต่ำ จะมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดตีบตันมากกว่าผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลปกติ
ค่าปกติของไขมันในเลือด
*ระดับคอเลสเตอรอล น้อยกว่า 200 มิลลิกรัม
*ระดับ HDL 40-60 มิลลิกรัม
*ระดับ LDL น้อยกว่าหรือเท่ากับ 130 มิลลิกรัม
การปฏิบัติตัวเพื่อลดคอเลสเตอรอลในเลือด
1. การควบคุมอาหาร
1. อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
2.อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง ปลาหมึก กุ้ง และเครื่องในสัตว์
3.ไขมันจากสัตว์
4.กะทิ
5.อาหารที่ปรุงด้วยน้ำมัน
6.ขนมหวาน แป้ง ข้าวต่างๆ และเครื่องดี่มประเภทเบียร์
อาหารที่ควรรับประทาน
1.เนื้อปลา
2.น้ำมันของปลาทะเล
3.ผักและผลไม้ที่มีกากมากๆ เช่น ฝรั่ง ผักกาด ส้ม เป็นต้น
4.ดื่มนมพร่องมันเนยแทนนมสด
ควรปรุงอาหารด้วยการนึ่ง ต้ม ยำ หากต้องการปรุงด้วยการทอดควรเลือกใช้น้ำมันพืช เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดทานตะวัน
2.การออกกำลังกาย การออกกำลังกายสม่ำเสมอช่วยเพิ่มระดับ HDL ในเลือดให้สูงขึ้น ควรออกกำลังกายครั้งละประมาณ 10-30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง เช่น จ็อกกิ้ง เต้นรำ ว่ายน้ำ เป็นต้น
ถ้าท่านมีภาวะไขมันคอเลสเตอรอลสูงควรรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลไม่เกิน 300 มก./วัน
โรคแทรกซ้อน
*โรคหัวใจ เป็นโรคหัวใจขาดเลือดหรือโรคต่างๆ อันเนื่องมาจากการทำงานของหัวใจ
*ระบบประสาท อัมพฤกษ์หรืออัมพาต
*เส้นเลือด เลือดไปเลี้ยงขาไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอาการปวดน่อง
*ตับอ่อน ตับอ่อนอักเสบ
ที่มา : โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ